ถอดรหัส ผู้นำ มาร์ติน วีลเลอร์ ผู้นำเศรษฐกิจพอเพียงเมืองหมอแคน

ถอดรหัส ผู้นำ มาร์ติน วีลเลอร์ ผู้นำเศรษฐกิจพอเพียงเมืองหมอแคน

โดย …. สาคร มหาหิงค์

กศ.บ. ,M.Ed.(Ed.Ad.),ศศ.ม. พัฒนาสังคม, กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารจัดการการศึกษา ณ.มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

ความนำ

มาร์ติน วีลเลอร์ เป็นชาวอังกฤษ เขาเกิดมาใน ครอบครัวที่เพียบพร้อม มีอันจะกิน  ตัวเขาเองจบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยลอนดอน พ่อจบปริญญาเอก เป็นผู้จัดการบริษัทผลิตสารเคมีที่มีพนักงานถึง 20,000 คน คุณแม่ เป็นครูสอนดนตรี พี่สาวจบการศึกษาระดับปริญญาเอก พี่เขย ก็จบปริญญาเอก เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย  แทบจะพูด ได้ว่าชีวิตน่าจะมีความสุขและเป็น ที่น่าอิจฉาอย่างมาก แต่กับมาร์ติน แล้วเขาไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งที่เป็นอยู่นั้นเลย เขาไม่อยากมีเงิน ไม่อยากมีวุฒิบัตร ไม่อยากมีรถ ไม่สนใจวัตถุเมื่อครั้งที่เขาจบปริญญาตรี ได้รับวุฒิบัตรเขาก็มอบวุฒิบัตรนั้นให้กับพ่อแม่ เพราะว่าพ่อแม่อยากได้ เขาไม่ได้อยากได้เลย แต่มาร์ติน อยากอยู่แบบง่าย มีบ้านหลังเล็ก กับครอบครัวเล็กๆ มักน้อยสันโดษ เมื่อคิดเช่นนั้นหลังจากเรียนจบแล้วเขาจึงเลือกที่จะไปทำงานก่อสร้าง แบกอิฐแบกปูน ทำอยู่ร่วมสิบปี ซึ่งคนส่วนใหญ่มักบอกว่าเขาเป็นคนนิสัยเสีย พ่อ แม่และ พี่ อุตส่าห์สนับสนุนให้ เรียนหนังสือ แต่เมื่อจบแล้วกลับไม่ยอมใช้ความรู้ มาทำมาหากิน

มีคำถามว่าทำไมมาร์ตินถึงเลือกที่ จะไปทำงานก่อสร้าง แบกอิฐ แบกปูน ทั้งที่เป็นงานที่หนักและเหนื่อยมาก เขาบอกว่า “เขาอยาก รู้จักชีวิตของตัวเอง” เขาอยาก รู้ว่าตัวเองมีความสามารถขนาดไหน มีความอดทนหรือเปล่า ถ้าเจอสิ่งที่ยากลำบากเขาจะทนได้หรือเปล่า การที่เขาคิดอย่างนี้ เพราะที่ผ่านมาชีวิตเขาเคยอยู่แต่ในสังคมที่พูดถึงแต่เรื่องเงิน เรื่องรถ เรื่องลูก บางทีก็เอาลูกมาแข่งกัน อวดกันบ้างว่า ลูกเรียนที่นั่น ที่นี่ สำหรับมาร์ตินเอง เขาคิดว่าสิ่งต่างๆเหล่านั้นมันทำให้ชีวิตมีแต่ความวุ่นวาย หาความสุขที่แท้จริงไม่ได้  แต่เมื่อ เขามาทำงานก่อสร้าง แบกอิฐ แบกปูน มันทำให้เขารู้สึกว่ามีอิสระ ทำให้มีเวลาได้คิด ที่สำคัญทำให้ร่างกายแข็งแรง อีกด้วย แต่ถึงอย่างไรในช่วงที่เขาทำงานก่อสร้างอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขาเองก็ยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืนอยู่ดีเมื่อคุณแม่ของเขาเสียชีวิต ก็ได้รับมรดกมาก้อนหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจว่าจะนำเงินที่ได้นั้นไปเที่ยว และจะไปเที่ยวในประเทศที่เขายังไม่เคยไป นั่นคือประเทศไทย ลาว เขมรและออสเตรเลีย แล้วเขาก็เลือกมาประเทศไทยเป็นประเทศแรก ด้วยความที่เป็นคนชอบเที่ยว ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เมื่อมาถึงเมืองไทยได้ 2 เดือน เงินที่ได้มาจากมรดก ก็หมด อดไปประเทศอื่นๆ เลยต้องหางานทำ และงานที่เขาทำได้ในตอนนั้นก็มีงานเดียว ที่ฝรั่งทำได้ดีในเมืองไทย นั่นก็คือ “การเป็นครูสอนภาษา” ซึ่งในครั้งนั้นมาร์ตินบอกว่าเขาเองรู้สึกว่าเขาทรยศต่อ ตัวเอง มากที่สุด ทำไมเขาถึงคิเช่นนั้น

ประวัติ

ชื่อ Martin Wheeler เป็นชาว อังกฤษ เกิดที่เมือง Blackpool
การศึกษา  ปริญญาตรีเกียรตินิยม ภาษาละติน จาก London University
ชีวิตสมรส   สมรสกับ นางรจนา วีลเลอร์ ชาวอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

มีบุตรรวม  ๓  คน
๑. ด.ช.แอริค วีลเลอร์ (Eric Wheeler)
๒. ด.ญ.อัน วีลเลอร์ (Anne Wheeler)
๓. ด.ช.แดริก วีลเลอร์ (Derek Wheeler)

2.ภาวะผู้นำ

ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มี ตำแหน่งหัวหน้าหรือผู้ที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านี้ก็คือ ผู้นำเป็นผู้ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลเชิงบวกต่อความเป็น อยู่ที่ดีของผู้อื่น ของชุมชนและของสังคมโดยรวม โดยนิยามหลังนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพพอที่จะเป็นผู้นำได้

กระบวนการของการเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำของมาร์ติน  วีลเลอร์นั้น ไม่สามารถอธิบายได้โดยง่ายเพียงแค่ดูจากพฤติกรรมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในแง่ความร่วมมือของกลุ่มคนหรือระหว่าง กลุ่มคนในการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน บนฐานของค่านิยมเหมือนกัน คือ การทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกขึ้นแก่สังคม

จากฐานความเชื่อที่ว่า ผู้นำคือผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change agent) และภาวะ ผู้นำคือ การทำงานร่วมกันในลักษณะของกลุ่มบุคคลที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมขึ้น ดังนั้นโครงการพัฒนาผู้นำใด ๆ ที่มีฐานความเชื่อดังกล่าว จึงเน้นเรื่องค่านิยม (Values) สำคัญที่ใช้เป็นฐานของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมควบคู่ไปกับการเรียน รู้ค่านิยมส่วนบุคคลเพื่อการเป็นผู้นำที่ดีต่อไป

ภาวะผู้นำ ที่สังเกตเห็นได้และเรียนรู้กันได้ในภาวะการเป็นผู้นำ ของมาร์ติน  วีลเลอร์ผู้ที่มีบุคลิกภาพหลายรูปแบบ ภาวะผู้นำมีวัตถุประสงค์หรือเป้าประสงค์ ภาวะผู้นำเป็นการทำงานของกลุ่ม การพัฒนาภาวะผู้นำส่วนบุคคลมีความสำคัญ ท้าทายต่อการเรียนรู้ทักษะภาวะผู้นำ และทักษะเหล่านี้สร้างความนับถือจากคนอื่น ภาวะผู้นำช่วยให้เข้าใจคนอื่นและตัวเอง ภาวะผู้นำช่วยปัจเจกบุคคลให้มีวุฒิภาวะและพัฒนามโนทัศน์แห่งตนออกมา วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาวะผู้นำก็คือ เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการการแสดงออกทางภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีมีห้าขั้นได้แก่ศึกษา วิเคราะห์ตัวเอง พัฒนา เรียนรู้ และติดตามแผนที่แน่นอน ขั้นตอนของแผนภาวะผู้นำส่วนบุคคลรวมถึงการพัฒนาวิสัยทัศน์ การตั้งเป้าประสงค์ การพัฒนาความริเริ่ม ความมั่นใจในตัวเอง ความรับผิดชอบส่วนบุคคลภาพลักษณ์ที่ดี และการจัดระเบียบตัวเอง เขาใช้ ทักษะเชิงมนุษย์สัมพันธ์ (human relations) และทักษะเทคนิคมนุษย์สัมพันธ์ ทักษะเชิงมโนทัศน์รวมถึงการมีวิสัยทัศน์ เป็นนักกระตุ้น กล้าตัดสินใจ ตรงไปตรงมา มีความสร้างสรรค์มีความกล้าหาญ เป็นนักเสี่ยง มีพันธะ มีความแน่วแน่และไม่ย่นย่อ มีความรู้สึกต่อความรีบด่วนและความริเริ่มติดตามจนจบ เป็นเจ้านายแห่งการเปลี่ยนแปลง ความฉลาด และความต้องการที่โดยนำทักษะเชิงเทคนิครวมถึงการคัดเลือกกลุ่ม มีความสามารถ เป็นนักสื่อความหมาย จัดการเวลา ตั้งเป้าประสงค์และวางแผน ก่อให้เกิดความสำเร็จ ตอบสนองต่อความล้มเหลว และนำปัจเจกบุคคลและกลุ่ม ทักษะเชิงเทคนิคมโนทัศน์รวมถึงความฉลาด ความสามารถในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความรอบรู้ในการมอบอำนาจ เป็นนักฉวยโอกาส ยืนยันในความเป็นเลิศ ให้กลุ่มร่วมรับผิดชอบ แสดงความสนใจและความสามารถกว้าง ๆ เมื่อศึกษาเรื่องราวและวิชาการแล้วสามารถสร้างเป็นแนวความคิดเพื่อเข้าใจ วิถีทางของนายมาร์ติน วีลเลอร์ ดังนี้

1.ภาวะผู้ นำได้มาอย่างไร สรุปภาวะผู้นำของนายมาร์ติน วีลเลอร์ ได้มาโดยโชคและความตั้งใจในปั้นท้ายของความคิดที่ต้องการอยู่แบบพอเพียง พอกิน กินพอ จึงได้เริ่มสร้างงานตนเองขึ้นมาในแนวของพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว

2. เขามีภาวะผู้นำอย่างไร มาร์ติน วีลเลอร์ คือเขาเป็นนายตนเอง ไม่ชอบการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ตามลำดับขั้นงานหรือสายงานที่มีใช้กันทั้งองค์การภาครัฐและเอกชน การประสบความสำเร็จในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นความสำเร็จของมาร์ติน เอง และเขาสามารถถ่ายทอดตัวตนของเขาเองและงานที่เขาทำได้ตามสภาวะของเขาเองที่มี อยู่

3. ลักษณะผู้นำ

มาร์ติน  วีลเลอร์  มีลักษณะการเป็นผู้นำที่หาทฤษฎีมาชี้ชัดยากด้วยไม่มีวิธีการที่ดีที่สุดใน การเป็นผู้นำ เนื่องจากผู้นำที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากมีลักษณะหรือวิธีการเป็นผู้นำแตก ต่างกันออกไป บรรดาผู้นำต่างมีคุณลักษณะที่เหมือนๆ กัน 10 ประการที่พอจะบอกได้ว่า เป็นคุณสมบัติที่ผู้นำที่ดีควรจะมี
1.ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ (Committed to success) Knight ระบุไว้ ว่า ผู้นำที่ดีต้องเริ่มต้นจากจุดนี้ คนเหล่านี้เมื่อมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ ก็จะทุ่มเทพลังงานเข้าทำงานเต็มที่ อีกทั้งยังเกาะติดกับงานที่ทำจนประสบความสำเร็จ ไม่ทำแบบจับจดหรือเลิกทำง่ายๆ
2.การกำหนดลำดับความสำคัญที่เหมาะสม (Set proper priorities) ซึ่งเขา ใช้แบบตามสถานการณ์ไม่จัดลำดับไว้ก่อนเพราะปัญหาการทำความเข้าใจ การให้ความสำคัญที่ผิดหรือไม่มั่นใจ และแบบรักพี่เสียดายน้องทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จ
3.การตั้ง และคาดหวังในมาตรฐานที่สูง (Set and demand high standards) เขาเน้นในเรื่องของความซื่อสัตย์ ในด้านของผลการทำงาน
4.การเข้มงวดและยุติธรรม (Be tough but fair in dealing with people) โดยเฉพาะ เมื่อเกี่ยวข้องกับคน เนื่องจากคนโดยทั่วไปต้องการที่จะถูกวัด ถูกประเมิน และพัฒนาเพื่อกลุ่มได้แสดงออกถึงความสามารถให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด
5.การให้ ความสำคัญกับโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ (Concentrate on positives and possibilities) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการกำหนดความสำคัญของสิ่งที่จะทำนั้นควรเป็นสิ่งที่ชุมชนทำได้ ไม่ใช่ไปมุ่งเน้นปัญหาที่ยากจะแก้ไข หรือไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้
6.พัฒนาและ รักษาระดับเร่งด่วน (Develop and maintain a strong sense of urgency) เนื่องจากปัญหาที่พบในชุมชน ต้องรีบดำเนินการแก้ไขให้ดีขึ้น ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาในเรื่องของการดำเนินงานและ เรื่องคนโดยเร็ว ผู้นำที่ดีจะมีทัศนคติเสมอว่าทำในบางสิ่งบางอย่างดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ถึงแม้จะไม่ถูกต้องในตอนแรกแต่ก็จะหาทางแก้ไขจนถูกต้อง ดีกว่าไม่เริ่มทำสิ่งใดเลย
7.การให้ความใส่ใจในรายละเอียด (Pay attention to detail) เป็น เรื่องเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และไม่มีสิ่งใดที่จะทดแทนข้อมูลได้ ในการเอาใจใส่และให้ความสนใจต่อข้อมูลอย่างละเอียด จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการตัดสินใจ
8.การยอมรับต่อความผิดพลาด (Provide for the possibility of failure) เนื่องจากไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ดังนั้น จึงจำต้องวางแผนทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้คนสร้างสรรค์และคิดในสิ่งใหม่ๆ ย่อมจะนำไปสู่โอกาสของความล้มเหลวได้ง่าย การยอมรับความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารทุกคน
9.การเข้าไป เกี่ยวข้องในเรื่องสำคัญ (Be personally involved) ถ้าผู้นำได้ลงมาเกี่ยวข้องใกล้ชิด ย่อมจะทำให้โอกาสในการที่จะประสบความสำเร็จเป็นไปได้มากจากความมุ่งมั่นของ ผู้นำ
10.สนุกกับ งาน (Have fun) มาร์ติน  วีลเลอร์  เป็นผู้ที่มีความสุขในการทำงานส่งผลให้ชุมชนสนุกกับงานไปด้วย ความสนุกนั้นเกิดขึ้นได้จากการที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ดี และมุ่งมั่นเช่นเดียวกัน รวมทั้งให้ความสำคัญต่องานที่มีต่อเนื่องมาโดยตลอด

4. พฤติกรรมผู้นำ

จากการศึกษาชีวประวัติของเขาแล้ว ตัวมาร์ติน วีลเลอร์ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เพราะดูจากการศึกษามีแล้วบอกได้ว่า เก่ง เพราะได้เกียรตินิยม อันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยประเทศอังกฤษ เขาคิดว่าเขาเข้าใจตนเองมากกว่า ประสบการณ์ของพ่อและแม่ ที่ต้องการมอบให้เขา และต้องการฝากฝั่งให้เขาเป็นผู้นำของตระกูลของเขาเอง แต่ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองสูงที่ปราศจากประสบการณ์ชีวิต มาร์ติน จึงได้ใช้ชีวิตที่ก้าวพลาดไปบ้าง แต่นั้นมันเป็นประสบการณ์ของเขาเอง เขาได้รับประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้ด้วยเงิน แม้ว่าเงินจะซื้อได้ทุกอย่างที่ต้องการ เขาจึงเป็นตัวของตนเอง มากกว่าจะเป็นผู้ตามคนอื่น แม้คนนั้นจะมีประสบการณ์ในงานนั้นๆ ก็ตาม ด้วยความเชื่อตนเอง แต่เขาไม่ยอมปฏิบัติการงานเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง แต่เมื่อเขาได้ประสบการณ์ชีวิต เขาจึงค้นพบตัวตนที่แท้จริงของเขาเอง และชีวิตที่แท้จริงคือ การเป็นผู้นำตนเอง ตามที่เขาปรารถนา คือการสร้างหลักฐานและความมั่นคงของตัวของเขาเองกับการสร้างครอบครัวของเขา เองในจังหวัดขอนแก่น นั้นคือการเป็นผู้นำตนเองตามที่ตัวเองต้องการ แต่เขายังไม่สามารถก้าวพ้นคำว่าเงินและความอยากไปได้ เพราะเขาขยายเขตที่ดินไปเป็นเกือบ 30 ไร่ในปัจจุบันนี้ เท่ากับว่าเขาเริ่มคิดได้ตามภาวการณ์เป็นผู้นำของตัวเอง และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนอื่นได้ศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเองและสังคมส่วนรวมได้อย่างดี  ทุกวันนี้เขาจึงเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่สังคมไทยยอมรับในด้านหนึ่ง เพราะเขาลงมือทำด้วยตนเองทุกอย่างเขาจึงเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองไปในตัวจึง ทำให้รู้ว่าอะไรจะต้องทำก่อนและอะไรทำทีหลัง

5. การสร้างทีมงาน

การสร้างทีมงานของมาร์ติน ไม่ได้เกิดจากความต้องการของตัวเขาเองแต่เกิดจากบุคคลอื่น เพราะหลังจากที่มาร์ติน ประสบความสำเร็จจากสร้างงานแล้ว เขาจึงได้รับการยอมรับจากสังคมไทยที่ประโคมข่าวของเขาไปทั่วประเทศ ดังนั้นทีมงานของเขาจึงเป็นทีมงานอัตโนมัติ ที่ปราศจากการบังคับบัญชาจากมาร์ตินเอง เพราะทีมงานต่างเข้ามาสร้างผลประโยชน์จากความสำเร็จของเขาและให้การช่วย เหลือเพิ่มเติมคือหน่วยงานภาครัฐนั่นเอง ที่ช่วยเหลือด้านวิชาการเกษตรและการสร้างอาชีพเป็นต้น และการได้รับความช่วยเหลือจากทีมงานของชุมชนเขาจึงประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะตัวมาร์ตินเอง คงไม่รู้อะไรไปมากมายสักเท่าไร

6. การนำทีม

ตามสภาวะการณ์แล้วการนำทีมน่าจะนำ ไปใช้กับทีมกีฬา ที่ต้องมีโค้ช หรือกัปตันทีม เช่นทีมฟุตบอล แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์เพราะว่าการนำทีมนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับงานแบบ เศรษฐกิจพอเพียงของมาร์ติน ได้อย่างลงตัวเพราะ เขาสามารถเป็นผู้นำด้านนี้ได้อย่างเหมาะสมซึ่ง เข้ากับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

ดังนั้นมาร์ติน แม้ชีวิตจะไม่ได้เลิศเลอแต่เขาก็พบกับหนทางในการทำให้ชีวิตของเขานั้นอยู่ ได้แบบพอเพียง และด้วยการที่เป็นคนมีสติปัญญาที่ดี เพราะได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม เหมือนดังเช่นการเล่นฟุตบอลแม้จะเหลือเวลาแค่นาทีสุดท้ายเขาก็สามารถยิง ประตูได้ ก็เปรียบดังเช่น มาร์ตินนั่นเอง ที่ชีวิตของเขาสามารถพลิกผันตัวเองจากที่เคยเที่ยวเตร่ เสเพล จนหมดเงิน นับว่าคนมีปัญญาแม้นาทีสุดท้ายของชีวิต ก็สามารถ กลายเป็นผู้นำทีมในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้โดยได้รับความชื่นชม และไว้วางใจจากสังคม

สรุปบทส่งท้าย

มาร์ติน วีลเลอร์ เขาสามารถพลิกผันชีวิตของเขาเองได้แม้จะเปลี่ยนจุดบั้นปลายชีวิตของเขาเอง แม้ในนาทีสุดท้ายของชีวิต และเขาก็พบหนทางดำเนินชีวิตได้อย่างอัศจรรย์ เพราะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยแท้ เขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในตัวของเขาเอง แต่มาร์ติน วีลเลอร์ยังไม่สามารถก้าวพ้นกับคำว่า กิเลส และตัณหาได้ และกับคำว่าทุนนิยมที่มีตัวเงินเป็นใหญ่เพราะเขาได้ใช้เงินในการซื้อที่ดิน เพิ่มเติมอีกเกือบ 30 ไร่ ซึ่งแน่นอนหากมองว่าเขาทำเพื่อตัวเองและครอบครัวคงไม่ผิดอะไร แต่อย่าลืมว่าคนเรานั้นบางครั้งจะมีคำว่าลืมตัว ลืมตน ไปบ้าง และสิ่งที่น่าเสียดายคือ การไม่ได้นำความรู้ปริญญาตรีเกียรตินิยม ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาเองและสังคมสักเท่าไร ซึ่งคงจะกล่าวได้ว่าเสียทีที่ได้เรียนมา เสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าจะคิดในอีกแง่หนึ่ง ก็คือคนเราถ้าคนอัฉริยะในตัวมักทำตัวและมีแนวคิดที่แปลกกว่าคนปกติธรรมดา เฉกเช่น      มาร์ติน วีลเลอร์ นั้นที่สามารถผลิกผลันชีวิตของตัวเขาเองได้แม้ในนาทีสุดท้ายก่อนหมดเวลา (ชีวิต) เขาจึงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าปราชญ์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียงไปโดยปริยาย

เอกสาร อ้างอิง

1.      มติชนสุดสัปดาห์. เขยอีสาน ที่ชาวบ้านเรียกปราชญ์. ปีที่ 28, ฉบับที่ 1451, ประจำวันที่ 6-12 มิถุนายน 2551, หน้า 70-72

2.      ดร.ชาญชัย อาจินสมาจาร ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

3.      หนังสือพิมพ์สำหรับคนรักป่าและสิ่งแวดล้อม ปีที่ 2, ฉบับที่ 3 ,ประจำ เดือนกรกฏาคม-กันยายน 2550 ,หน้า 3-19

4.      http://www.watnai.org/forum1/index.php?topic=20.0 18 พฤศจิกายน 2552

5.      http://kc.hri.tu.ac.th/index.php?title 20 พฤศจิกายน 2552

6.      http://sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/ 23 พฤศจิกายน 2552

  1. No trackbacks yet.

ใส่ความเห็น